แปลตามตัวก็คือการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริษัทๆหนึ่งจากประเทศๆหนึ่ง ได้สร้างการลงทุนทางกายภาคโดยการสร้างหน่วยการผลิตในประเทศอื่น ซึ่งตามความหมายนี้ สามารถรวมไปถึงการลงทุนที่สร้างผลประโยชน์สุดท้ายในกิจการ นอกเหนือไปจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้ลงทุน มีการศึกษาวิจัยปริมาณการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศโดยเริ่มตั้งแต่ปี 1945 โดยใช้ทฤษฏีของบริษัทข้ามชาติ(Theory of Multinational Corporation) อธิบาย เช่น ทฤษฏีดั้งเดิม H-O-S (Heckscher-Ohlin-Samuelson) สรุปว่า ประเทศที่มีปัจจัยทุนมาก มีทางเลือก อยู่ 2 ทาง ที่จะทำให้ ตนได้เปรียบทางการค้า คือการผลิตสินค้าที่มีลักษณะทุนเข้มข้น (คือใช้เงินหรือทรัพยากรในการผลิตที่สูง) ไปยังประเทศที่ไม่ได้เปรียบในการผลิตสินค้านั้น หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศแทน ทำให้เกิดการย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและไปผลิตสินค้าที่มีทุนเข้มข้นในประเทศเหล่านั้นแทน ดังนั้น ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศเจ้าของทุนกับประเทศที่รับลงทุนจะมีปริมาณที่ลดลงแต่ทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศสมัยใหม่ได้มีการใช้แนวคิดขององค์กรอุตสาหกรรม ซึ่งแย้งกับทฤษฏีที่ผ่านมาคือ การค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหรรมเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดได้มากขึ้นเมื่อผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้บางอุตสาหกรรมยังต้องมีการพึ่งพิงเทคโนโลยีเฉพาะทาง เทคโนโลยีแต่ละด้านช่วยส่งเสริมความสามารถหลักขององค์กรนั้นๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำลง และสามารถส่งออกสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการค้าระหว่างประเทศจะเป็นปัจจัยที่เกื้อกูลกับปริมาณการลงทุนในต่างประเทศ และขณะเดียวกันการลงทุนในต่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศตามมาด้วยเช่นกัน
หากเรามองในแง่ของวาทกรรม จะพบว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศนี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลจากวาทกรรมการพัฒนา คือเป็นการลงทุนจากประเทศที่เรียกตัวเองว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ใช้ประโยชน์จากวาทกรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นให้ประเทศในโลกที่ 3 เห็นดีเห็นงามไปด้วยในฐานะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ แรงงานราคาถูก กฎหมายด้านการจักการสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้มงวด ฯลฯ ใช้ข้อได้เปรียบในด้านของการมีเงินทุน แสดงให้เห็นถึงข้อดีของการลงทุนต่างๆนานา เช่น จะช่วยให้เกิดการจ้างงาน ฯลฯ ซึ่งประเทศโลกที่ 3 ก็มักจะเห็นด้วย เพราะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน ทัดเทียมเข้าใกล้ประเทศที่พัฒนาแล้ว
FDI ในไทยจากเอกสารประกอบการสัมมนาของดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ได้กล่าวว่า FDI ยุคแรกในไทยเกิดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1-2 ซึ่งเป็นยุคที่ผลิตทดแทนการนำเข้า เน้นหนักในสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่าสูง เนื่องจากนำเข้าชิ้นส่วนการผลิตและสินค้าทุนจำนวนมากแต่ไม่สามารถสร้างเงินตราต่างประเทศ และปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการผลิตเหตุการณ์ Plaza Accord ปี 2528 ที่ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศญี่ปุ่น มีค่าสูงขึ้นมาก ทำให้ต้องย้ายฐานการผลิตมาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศจีนและประเทศสังคมนิยมในอินโดจีนยังไม่เปิดประเทศ จึงไม่มีคู่แข่งขันในการดึงดูด FDI ทำให้ญี่ปุ่นกลายมาเป็นผู้ลงทุนในไทยมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศที่มาลงทุนในไทยจนถึงปัจจุบัน
ผลกระทบ ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
ข้อดี 1.การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทำให้เกิด การถ่ายทอดทางเทคโนโลยี ความรู้ในรูปแบบต่างๆ2.ได้ในด้านการพัฒนาบุคลากรในประเทศให้มีประสิทธิภาพ3.ได้ภาษี ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สำคัญของประเทศ แต่ประเทศส่วนใหญ่มักมีการดึงดูดนักลงทุนโดยการลดหย่อนภาษี4.แรงผลักดันของสังคมของผู้ทีมีส่วนได้เสียที่มีมากขึ้นทำให้บริษัทข้ามชาติจำเป็นต้องมีนโยบายออกมาเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อเสีย1.ในแง่ของการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาจมีการถ่ายทอดให้ไม่หมด ถ่ายทอดเพียงเฉพาะส่วนทำให้ไม่ได้เป็นการช่วยให้เกิดองค์ความรู้ต่อเรื่องการผลิตนั้นจริงๆ2.เป็นการสร้างความชอบธรรมในความต้องการดึงดูดทรัพยากร การขจัดอุตสาหกรรมที่ประเทศเหล่านั้นไม่ต้องการ3.กระทบต่อบริษัทภายในประเทศ เนื่องจากบริษัทข้ามชาติมักจะมีอำนาจทางการตลาดที่สูงกว่าบริษัทในประเทศ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้4.ประชาชนในประเทศที่รับการลงทุนมักจะได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการ เช่นปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม สุขภาพของประชาชนในบริเวณแหล่งอุตสาหกรรมเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น