วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบ EPC

การตลาดระหว่างประเทศ ข่าวการตลาดระหว่างประเทศ ข่าวประชาสัมพันธ์
ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่ โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์ คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2))
ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์
คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2)) ได้สร้างรากฐานให้กับยุคใหม่ของการใช้ อาร์เอฟไอดีในระบบซัพพลายเชน เจน 2 ได้ก่อตั้งอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นทางเลือกของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีให้ กับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมถึงพันธมิตรด้านการค้าของเขาด้วย และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่า เจน 2 เป็นจุดเริ่มต้น แต่ไม่ใช่จุดจบของนวัตกรรมด้านซัพพลายเชนที่เป็นอาร์เอฟไอดี มันอาจเป็นเรื่องที่ประหลาดใจที่ว่า มีความแตกต่างที่สำคัญด้านประสิทธิภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่รองรับกับเจน 2
เจน 2 สร้างแพลทฟอร์มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และระบบในอาร์เอฟไอดีที่จะปรับปรุงการจัดการด้านการ
จัดเก็บผลิตภัณฑ์ (Inventory),ระบบลอจิสติกส์ รวมถึงการดำเนินงานด้านค้าปลีกทั่ว โลก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่ได้มีประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐาน บริษัทต่างๆจะต้องการข้อมูลที่คล้ายคลึงกันเหมือนกับคู่แข่งของเขา รวมถึงการเปรียบเทียบในเรื่องของการดำเนินธุรกิจ แต่สภาพแวดล้อมด้านการใช้งานจะเป็นอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นมาตรฐานหรือเหมือน กัน เจน 2 หรือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแบบ ใดก็ตาม จะไม่ให้ประสิทธิภาพเหมือนกันเสียทีเดียวกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 2 แบบ และนี่เองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เจน 2 ระบุรายละเอียด และลำดับของประสิทธิภาพ ที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ เจน 2 ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยความเข้าใจ ในรายละเอียดเรื่องประสิทธิภาพของเจน 2 และคุณสมบัติที่แตกต่าง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพแท้จริง ผู้ใช้สามารถระบุระบบ เจน 2 ที่ให้ฟังก์ชั่นและประโยชน์ตามที่ต้องการปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการนำ เทคโนโลยี เจน 2 อาร์เอฟไอดีมาใช้ ประกอบด้วยความเร็ว ประสิทธิภาพ, ความน่าเชื่อถือ, ลำดับ, ความปลอดภัย และราคา
ความเร็ว
พื้นฐานของผู้ใช้งานด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก คือ ความสามารถในการอ่านแถบป้าย (tags) อาร์เอฟไอดีอย่าง รวดเร็วและทันทีทันใด ความต้องการในเรื่องความเร็วของเจน 2 ถูกพัฒนาและแก้ไขให้ดีขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการและประสบการณ์ของผู้ใช้ เทคโนโลยี รุ่นที่ 1 หรือ เจน 1 ความสามารถในการระบุและจำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยความเร็วของระบบเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดลำดับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดจำหน่าย และการบริหารการจัดเก็บสินค้า
ทั้งนี้ ไม่มีระบุความเร็วที่ตายตัวหรือจำกัดในมาตรฐานเจน 2 เพราะว่าการอ่านความเร็วขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ได้แก่ กำลังของไฟฟ้า, ความจุของแถบป้าย และสภาพแวดล้อมของอาร์เอฟ คุณสมบัติเฉพาะด้านเทคนิคของเจน 2 ควรให้เครื่องอ่านสามารถอ่านแถบป้ายกว่า 1,500 แถบป้าย ต่อวินาทีในตลาดอเมริกาเหนือ และ อ่าน 600 ครั้งต่อวินาทีในยุโรป ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความถี่และไฟฟ้ามากกว่า
คุณสมบัติเฉพาะของเจน 2 สนับสนุน “การเลือกแบบกลุ่ม” ที่ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญในการอ่านและจัดลำดับข้อมูลความเร็วสูง ช่วยให้ RFID interrogators หรือเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ค้นหาและอ่านกลุ่มแถบป้ายที่เลือก (ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของข้อมูล) และไม่สนใจกับส่วนอื่น และยังช่วยลดจำนวนข้อมูลที่ระบบต้องประมวลผลเพื่อการอ่านเร็วขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยีใหม่ของคุณสมบัติเจน 2 ที่เรียกว่า “ persistence” ทำให้แถบป้ายมีความสามารถในการจำสถานะ หากเข้าถึงข้อมูลผิดพลาดจากเครื่องอ่าน และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการอ่านครั้งใหญ่ โดยเฉพาะแผ่นแถบป้ายจำนวนมาก
ประสิทธิภาพช่วงความถี่ (Bandwidth)
ช่วงความถี่ของการสื่อสารไร้สาย มีข้อจำกัด มีการกำกับขั้นสูง และต้องมีการจัดการอย่างระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์ เจน2 สามารถใช้งานได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต และให้ลำดับ, ความเร็ว และประสิทธิภาพอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับความต้องการของแอพพลิเคชั่นด้านซัพพลายเชนที่กำหนดโดยผู้ใช้ ซึ่งทำให้ชนะอุปสรรคในเรื่องของการติดตั้งระบบเจนเนอเรชั่นที่ 1 ที่พัฒนาภายใต้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลคลื่นวิทยุของสหรัฐ (U.S Federal Communication Commission: FCC) โดยข้อกำหนดนี้ ไม่ได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบาลทั่วโลก และต้องการใบอนุญาตสำหรับผู้ใช้งานในโลก
มาตรฐาน เจน 2 นี้ ช่วยผู้ใช้ได้รับความยืดหยุ่นในเรื่องการใช้ประโยชน์ช่วงความถี่ ประสิทธิภาพของระบบ สามารถใช้งานอยู่บนจำนวนของอุปกรณ์อาร์เอฟที่ทำงาน มาตรฐานนี้ได้แบ่งการทำงานของผลิตภัณฑ์ เจน 2 เป็น 3 โหมด คือ เครื่องอ่านเดี่ยว(single reader) และเครื่องอ่านหลายระบบ (multi-reader) และเครื่องอ่านแบบหนาแน่น (dense reader) คุณสมบัติในแต่ละโหมด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งานปกติ
คุณสมบัติของโหมดเครื่องอ่านเดี่ยว เพื่อการติดตั้งระบบที่มีหนึ่งผู้ดูแลระบบต่อหนึ่งเครื่องอ่าน (interrogators) อาร์เอฟไอดี ต่อเครื่อง โดยระบบนี้ จะมีประสิทธิภาพในระดับน่าพอใจ แต่หากมีระบบที่มีการใช้งาน อาร์เอฟอยู่ใกล้ๆ ก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการรบกวน
ผลิตภัณฑ์แบบการอ่านแบบกลุ่ม ใช้งานในระบบอาร์เอฟได้ดีกว่า รวมถึงมีการใช้งานย่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงมีการจัดการเรื่องของการส่งผ่านสัญญานได้ดีกว่า โดยจะสามารถดำเนินการในสภาวะการอ่านผลิตภัณฑ์ต่อครั้ง โดยไม่แสดงปัญหาให้เห็น
ส่วนการอ่านแบบหนาแน่น จะใช้งานในสภาวะการใช้งานในการอ่านผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 ชิ้น อย่างศูนย์การกระจายผลิตภัณฑ์และโรงงานที่มีการใช้งานระบบอาร์เอฟไอดี ถือเป็นทางเลือกที่รวดเร็วที่สุดในการติดตั้งอุปกรณ์ อีพีซี และมีการใช้งานย่านความถี่แบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และป้องกันสิ่งรบกวนต่างๆ
ความน่าเชื่อถือ
มาตรฐาน เจน 2 ยังรวมถึงข้อกำหนดที่มีการปรับปรุงจากยุคที่ 1 ทำให้การแสดงผลด้านการอ่านมีความน่าชื่อถือมากขึ้น และยังมีทางในการติดตั้งมาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงการเชื่อมโยง ข้อมูลและความน่าเชื่อถือของเครือข่าย
ตัวเลข อีพีซี รูปแบบข้อมูล ซึ่งทำให้เป็นไปได้ในการจำแนกการอ่านข้อมูลและการเขียนบนแถบป้าย มาตรฐานการอ่านเจน 2 จะเปลี่ยนการอ่านข้อมูลจากผู้อ่าน (เหมือนในเจน 1) สู่การต่อเชื่อมที่จะทำให้ปฏิบัติการได้เร็วขึ้น
เจน 2 ยังเพิ่มในส่วนของการป้องกันของการอ่านผิด หรือที่เรียกว่า แถบป้ายผี ที่จะมีการบันทึกเมื่อมีการข้อมูลจากแถบป้ายที่แตกต่าง รวมถึงแปลงเป็นเป็นการจำแนกแบบกรอ่านเดี่ยว.
นอกจากนั้นแล้ว แถบป้ายของ เจน 2 ยังคงแสดงข้อมูลที่เขียนในแถบป้าย ผู้ใช้ในเทคโนโลยีในยุคที่ 1 จะเคยพบข้อมูลที่ผิดพลาด และทำให้การพิสูจน์ ความต้องการ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือของมาตรฐาน เจน 2
ย่าน ความถี่
ความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ใช่ข้อระบุของมาตรฐาน จะเป็นตัวชี้นำย่านที่ต้องการใช้สำหรับระบบอีพีซีของเจน 2 เจน 2 ช่วยให้การส่งผ่านย่านความถี่สเปคตรัมแต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ซึ่งจะมีการนำเสนอผ่านสื่อหลากรูปแบบ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้ยานความถี่ และช่วยให้มีการปรับปรุงย่านสำหรับเทคนิคการส่งสัญญาน
ระบบรักษาความปลอดภัย
แถบป้าย มาตรฐานอีพีซี ได้รับการป้องกันในเรื่องของรบกวน โปรโตคอลของมาตรฐานรวมถึงการเข้ารหัส และการใช้งานแถบป้าย และผู้อ่านในการสร้างระบบความปลอดภัยก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่ง ซึ่งทำให้ยากในการปรับเปลี่ยนเลขหมายอีพีซี
ในบางอุตสากรรมที่รวมถึง ค้าปลีกและ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทำให้แถบป้ายใช้งานไม่ได้ เพื่อข้อมูลจะไม่สามารถต่อเชื่อมได้ และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าก็จะไม่ตั้งเป้าและยังมีการรองรับมาตรฐานในความ ต้องการของลูกค้า เพื่อป้องกันป้านที่ไม่ได้รับการรองรับหรือ ใช้งานไม่ได้
เจน 2 ยังสนับสนุน “cloaking” ที่ช่วยให้แถบป้ายที่ตั้งให้สามารถสื่อสารกับผู้อ่านที่ได้รับอนุญาติโดยผู้ อ่านจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนที่แถบป้ายจะมีการสื่อสารต่างๆ และรหัสผ่านยังเป็นที่ต้องการสำหรับการเขียนแถบป้าย หรือทำให้ชำรุดเพื่อเพิ่มระบบความปลอดภัยมากขึ้น
ต้นทุน
หนึ่งในแรงบันดาลใจในการพัฒนาระบบอีพีซี คือ การสร้างเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี ที่มีประสิทธิภาพในเรื่องต้นทุนสำหรับการดำเนินงานในเรื่องซัพพลายเชน เป้าหมายในเรื่องนี้ได้มุ่งไปที่เรื่องของการทำข้อกำหนด ที่ช่วยต้นทุนในการผลิตชิพและอุปกรณ์ถูกลงผู้ใช้กลุ่มแรกที่มีการใช้งานกับ อีพีซีในยุคที่ 1 ได้เปิดเผยว่า การออกแบบแบบต้นทุนต่ำนั้น มีข้อจำกัดในการใช้งานจริง รวมถึงในเรื่องของความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัยของข้อมูล, รวมถึงน่านความถี่ มาตรฐานยุคที 2 ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษในการสร้างความพอใจและความกังวลของลูกค้า
มูลค่า ได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญมากกว่าต้นทุน แต่ใช่เรื่อง่ายในการเปรียบเทียบในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง โดยไม่มีความเข้าใจที่ดีในเรื่องฟังก์ชั่นที่ต้องการของระบบ
มาตรฐาน อีพีซี เจน 2 ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเรื่องต้นทุนและฟังก์ชั่นที่จะนำไปสู่เรื่องของ การพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าในเรื่องต้นทุน ซึ่งเป้ฯสิ่งที่ต้องการสำหรับการใช้งานจริง
Intermec Intellitag Gen 2 RFID systems.
จากประวัติการมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่อง RFID รวมถึงติดตามอย่างใกล้ชิดในเรื่องการพัฒนามาตรฐานระดับโลก อีพีซี ซึ่งอินเตอร์เม็คมีลักษณะที่คล้ายกับมาตรฐานเจน 2 ความแตกต่างว่าจะติดตั้งอย่างไร และเรื่องการแสดงผลเมื่อมีการใช้งานจริง
ระบบ Intellitag เจน 2 ได้รับการออกแบบให้เหนือข้อจำกัด ในพื้นฐานของมาตรฐานเจน 2 เพื่อช่วยให้เกิด การแสดงผลขั้นสูง ฟีเจอร์การทำงานหลายแบบที่รองรับมาตรฐาน เจน 2 เป็นมาตรฐานที่มีผลิตภัณฑ์ Intellitag. ระบบอาร์เอฟไอดี Intellitag ของ อินเตอร์เม็ค นำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในมาตรฐานเจน 2 การทำงานของผู้อ่านแบบหนาแน่น ,การจำแนกการเขียน,ความทนทาน, ย่านความถี่, การป้องกันการเขียน รวมถึงฟังก์ชั่นการทำลายแถบป้าย
อินเตอรเม็คยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องฟีเจอร์ที่ไม่จับคู่กัน ในผลิตภัณฑ์ เจน 2 โดยได้มีสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้นำในทุกเซกเมนต์ สำหรับอุตสาหกรรม อาร์เอฟไอดี จากผู้ผลิตชิพถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการผสาน ความสัมพันธ์นี้ รวมถึงข้อตกลงเรื่องการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ช่วยให้อินเตอร์เม็ค และพันธมิตร นำเสนอระบบที่มีจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ของ Intellitag.
โดยความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างในการแสดงผล, ความน่าเชื่อถือ และลดการใช้ในมาตรฐานที่แตกต่าง การร้องเรียนในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต ผู้ใช้เจน 2 จะสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างพื้นฐานในแอพลิเค ชั่น สิ่งทีสำคัญที่สุดในการจำเรื่อง อีพีซี เทคโนโลยี เจน 2 คือ มาตรฐานไม่ได้หมายถึง การเทียบเท่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น