การค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น
การค้าของญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม)ของปี 2552 นี้ ญี่ปุ่นได้ดุลการค้า 19,913.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกมูลค่า 464,513.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 444,599.6 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ มูลค่าส่งออก และนำเข้าลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 31.1 และ 31.4 ตามลำดับ
การส่งออกของญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2552 มูลค่าส่งออกเดือนตุลาคมนี้ เท่ากับ 58,743.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใกล้เคียงกับมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2551 แต่ยังต่ำกว่าเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 15.1 อัตราการลดต่อปีของมูลค่าส่งออกชลอลง ขณะที่การนำเข้าเดือนนี้มีมูลค่าเพียง 49,831.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนที่แล้วเล็กน้อยร้อยละ 0.8 และมีมูลค่าต่ำกว่าเดือนตุลาคม 2551 ร้อยละ 28.7
การส่งออก
สินค้าส่งออกสำคัญของญี่ปุ่น ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าประเภท ยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
การส่งออกของญี่ปุ่นไปตลาดเอเชียกระเตื้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย และมาเลเซีย การส่งออกของญี่ปุ่นไปประเทศเหล่านี้เดือนตุลาคม 2552 แม้มีมูลค่าน้อยกว่าเดือนเดียวกันของปี 2551 แต่ใกล้เคียงกับเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยจีนซึ่งเป็นตลาดเส่งออกอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นแทนที่สหรัฐฯมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.0 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 18.8 ของมูลค่าที่ส่งออกไปตลาดโลก ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้
มูลค่าส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ เดือนตุลาคมกระเตื้องขึ้นต่อเนื่องจากเดือนกันยายน 2552 แต่การส่งออกไปตลาดตะวันออกกลาง และยุโรป ยังไม่ฟื้นตัวดี โดยเฉพาะรัสเซียมูลค่าส่งออก 10 เดือนแรกของปีนี้หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 82 .1
การนำเข้า
มูลค่านำเข้าของญี่ปุ่นระยะ 10 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 31.4 สินค้าที่มูลค่าลดลงมาก เช่น สินค้าเชื้อเพลิง สินแร่ ยานยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับธัญญพืช อลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สินค้าบางรายการมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งอากาศยานและส่วนประกอบ สินค้าที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมเนื้อสัตว์ปรุงแต่ง กระดาษและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
การนำเข้าจากประเทศเอเชียกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นมูลค่านำเข้าจากจีนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้มีลดลงจากปี 2551 เพียงร้อยละ 16.9 สินค้านำเข้าจากจีนมี สัดส่วนถึงร้อยละ 22.18 ของมูลค่านำเข้ารวม เพิ่มจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่มีสัดส่วนร้อยละ 18.42 ประเทศเอเชียอื่นที่มีสัดส่วนของมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเชีย เวียดนาม และไทย ญี่ปุ่น นำเข้าสินค้าจากประเทศเหล่านี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 20.0-29.2 โดยนำเข้าจากไทยลดลงร้อยละ 26.4 มูลค่าสินค้าจากไทยมีสัดส่วนร้อยละ 2.91 เพิ่มจากร้อยละ 2.71 ในช่วงเดียวกันของปี 2551
การค้าระหว่างญี่ปุ่นกับไทย
การค้าระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ทั้งการส่งออกและการนำเข้า กระเตื้องต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2552 ในช่วง มกราคม-ตุลาคม ปีนี้ ญี่ปุ่นได้ดุลการค้าไทย 4,272.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกมาไทยมูลค่า 17,220.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 31.0 นำเข้าจากไทย 12,947.2 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.4
การนำเข้าจากไทย
การนำเข้าจากไทยช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ แม้มูลค่าหดตัวลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.4 แต่สินค้าสำคัญบางรายการมีมูลค่าขยายตัวขึ้นจากปี 2551 เช่น เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง(+8.1%) อาหารทะเลแปรรูป(+11.0%) กุ้ง ปู สดแช่เย็น/แช่แข็ง(+22.2%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป(+3.6%) เครื่องสำอางและน้ำหอม (+37.5%) และข้าว(+4.5%) เป็นต้น
สำหรับสินค้าไทยที่มูลค่านำเข้าช่วงเดือน มกราคม-ตุลาคม 2552 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2551 มาก แต่ขณะนี้มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบรถยนต์ ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับแผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์สำหรับต่อภายในวงจรไฟฟ้า ไดโอททรานซิสเตอร์และอุปกรณ์ สายไฟฟ้าสายเคเบิ้ล เป็นต้น
การส่งออกมาไทย
โดยที่สินค้าที่ญี่ปุ่นส่งออกมาไทยกว่าร้อยละ 80 เป็นสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำคัญที่ญี่ปุ่นส่งออกมาไทยในช่วง มกราคม-ตุลาคม 2552 ลดลงเกือบทุกรายการ ตามสถานการณ์การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทย
อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางรายการที่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบและยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องรับ-ส่งโทรทัศน์และวิทยุ ไดโอททรานซิสเตอร์และอุปกรณ์ อุปกรณ์สำหรับต่อภายในวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า และพลาสติก เป็นต้น
ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นและแนวโน้ม
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2552 เป็นผลจากสถานการณ์การส่งออกที่กระเตื้องขึ้นมาตั้งแต่กลางปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น 8 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือน ในไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน) 2552 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 2 และค่าใช้จ่ายครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ตุลาคม นี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 1.6
อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงไตรมาส 3 ปี 2551 ถึงร้อยละ 20 ภาวะการลงทุนของภาคเอกชนยังไม่ดีนัก และแม้อัตราการว่างงาน ลดลง 3 เดือนติดต่อกันจากเดือนกรกฎาคมที่อัตราร้อยละ 5.7 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดเป็นประวัติการ มาอยู่ที่ร้อยละ 5.1 ในเดือนตุลาคมนี้ แต่ค่าจ้างเฉลี่ยยังคงโน้มลดลง เนื่องจากธุรกิจญี่ปุ่นพยายามหลีกเลี่ยงการปลดพนักงานออก โดยการลดค่าจ้าง/โบนัส รวมทั้งลดการทำงานล่วงเวลา ทั้งนี้ ค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในช่วงไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน) 2552ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.8 ส่งผลสืบเนื่องให้ญี่ปุ่นประสบภาวะเงินฝืด โดยดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศญี่ปุ่นลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ใช้ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้ากว่าในอดีตมาก ผู้ประกอบการต้องแข่งขันจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาที่ถูกลง
สงครามด้านราคาที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประกอบการ/ผู้ค้าปลีกใช้กลยุทธ์ แตกต่างกันไป ทั้งการลดราคาสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภคลงจากเดิม การจำหน่ายสินค้า private-brand ซึ่งราคาต่ำกว่าสินค้า nation-brand หรือการนำเสนอสินค้าคุณภาพปานกลางที่ราคาไม่แพง โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น เป็นต้น ดังนั้น เพื่อลดต้นทุนและผลจากภาวะค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นมาก ธุรกิจญี่ปุ่นจึงรักษาระดับรายได้โดยมองหาแหล่งผลิต/ช่องทางลงทุนการผลิตในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจใหม่ในเอเชียมากขึ้น รวมทั้งผู้ส่งออกญี่ปุ่นหลายรายมีแผนขยายฐานการผลิตไปประเทศอื่น เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และขยายโอกาสส่งออกไปประเทศที่สามมากขึ้น
-------------------------------
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553
ระบบ EPC
การตลาดระหว่างประเทศ ข่าวการตลาดระหว่างประเทศ ข่าวประชาสัมพันธ์
ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่ โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์ คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2))
ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์
คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2)) ได้สร้างรากฐานให้กับยุคใหม่ของการใช้ อาร์เอฟไอดีในระบบซัพพลายเชน เจน 2 ได้ก่อตั้งอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นทางเลือกของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีให้ กับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมถึงพันธมิตรด้านการค้าของเขาด้วย และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่า เจน 2 เป็นจุดเริ่มต้น แต่ไม่ใช่จุดจบของนวัตกรรมด้านซัพพลายเชนที่เป็นอาร์เอฟไอดี มันอาจเป็นเรื่องที่ประหลาดใจที่ว่า มีความแตกต่างที่สำคัญด้านประสิทธิภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่รองรับกับเจน 2
เจน 2 สร้างแพลทฟอร์มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และระบบในอาร์เอฟไอดีที่จะปรับปรุงการจัดการด้านการ
จัดเก็บผลิตภัณฑ์ (Inventory),ระบบลอจิสติกส์ รวมถึงการดำเนินงานด้านค้าปลีกทั่ว โลก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่ได้มีประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐาน บริษัทต่างๆจะต้องการข้อมูลที่คล้ายคลึงกันเหมือนกับคู่แข่งของเขา รวมถึงการเปรียบเทียบในเรื่องของการดำเนินธุรกิจ แต่สภาพแวดล้อมด้านการใช้งานจะเป็นอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นมาตรฐานหรือเหมือน กัน เจน 2 หรือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแบบ ใดก็ตาม จะไม่ให้ประสิทธิภาพเหมือนกันเสียทีเดียวกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 2 แบบ และนี่เองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เจน 2 ระบุรายละเอียด และลำดับของประสิทธิภาพ ที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ เจน 2 ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยความเข้าใจ ในรายละเอียดเรื่องประสิทธิภาพของเจน 2 และคุณสมบัติที่แตกต่าง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพแท้จริง ผู้ใช้สามารถระบุระบบ เจน 2 ที่ให้ฟังก์ชั่นและประโยชน์ตามที่ต้องการปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการนำ เทคโนโลยี เจน 2 อาร์เอฟไอดีมาใช้ ประกอบด้วยความเร็ว ประสิทธิภาพ, ความน่าเชื่อถือ, ลำดับ, ความปลอดภัย และราคา
ความเร็ว
พื้นฐานของผู้ใช้งานด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก คือ ความสามารถในการอ่านแถบป้าย (tags) อาร์เอฟไอดีอย่าง รวดเร็วและทันทีทันใด ความต้องการในเรื่องความเร็วของเจน 2 ถูกพัฒนาและแก้ไขให้ดีขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการและประสบการณ์ของผู้ใช้ เทคโนโลยี รุ่นที่ 1 หรือ เจน 1 ความสามารถในการระบุและจำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยความเร็วของระบบเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดลำดับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดจำหน่าย และการบริหารการจัดเก็บสินค้า
ทั้งนี้ ไม่มีระบุความเร็วที่ตายตัวหรือจำกัดในมาตรฐานเจน 2 เพราะว่าการอ่านความเร็วขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ได้แก่ กำลังของไฟฟ้า, ความจุของแถบป้าย และสภาพแวดล้อมของอาร์เอฟ คุณสมบัติเฉพาะด้านเทคนิคของเจน 2 ควรให้เครื่องอ่านสามารถอ่านแถบป้ายกว่า 1,500 แถบป้าย ต่อวินาทีในตลาดอเมริกาเหนือ และ อ่าน 600 ครั้งต่อวินาทีในยุโรป ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความถี่และไฟฟ้ามากกว่า
คุณสมบัติเฉพาะของเจน 2 สนับสนุน “การเลือกแบบกลุ่ม” ที่ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญในการอ่านและจัดลำดับข้อมูลความเร็วสูง ช่วยให้ RFID interrogators หรือเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ค้นหาและอ่านกลุ่มแถบป้ายที่เลือก (ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของข้อมูล) และไม่สนใจกับส่วนอื่น และยังช่วยลดจำนวนข้อมูลที่ระบบต้องประมวลผลเพื่อการอ่านเร็วขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยีใหม่ของคุณสมบัติเจน 2 ที่เรียกว่า “ persistence” ทำให้แถบป้ายมีความสามารถในการจำสถานะ หากเข้าถึงข้อมูลผิดพลาดจากเครื่องอ่าน และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการอ่านครั้งใหญ่ โดยเฉพาะแผ่นแถบป้ายจำนวนมาก
ประสิทธิภาพช่วงความถี่ (Bandwidth)
ช่วงความถี่ของการสื่อสารไร้สาย มีข้อจำกัด มีการกำกับขั้นสูง และต้องมีการจัดการอย่างระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์ เจน2 สามารถใช้งานได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต และให้ลำดับ, ความเร็ว และประสิทธิภาพอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับความต้องการของแอพพลิเคชั่นด้านซัพพลายเชนที่กำหนดโดยผู้ใช้ ซึ่งทำให้ชนะอุปสรรคในเรื่องของการติดตั้งระบบเจนเนอเรชั่นที่ 1 ที่พัฒนาภายใต้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลคลื่นวิทยุของสหรัฐ (U.S Federal Communication Commission: FCC) โดยข้อกำหนดนี้ ไม่ได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบาลทั่วโลก และต้องการใบอนุญาตสำหรับผู้ใช้งานในโลก
มาตรฐาน เจน 2 นี้ ช่วยผู้ใช้ได้รับความยืดหยุ่นในเรื่องการใช้ประโยชน์ช่วงความถี่ ประสิทธิภาพของระบบ สามารถใช้งานอยู่บนจำนวนของอุปกรณ์อาร์เอฟที่ทำงาน มาตรฐานนี้ได้แบ่งการทำงานของผลิตภัณฑ์ เจน 2 เป็น 3 โหมด คือ เครื่องอ่านเดี่ยว(single reader) และเครื่องอ่านหลายระบบ (multi-reader) และเครื่องอ่านแบบหนาแน่น (dense reader) คุณสมบัติในแต่ละโหมด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งานปกติ
คุณสมบัติของโหมดเครื่องอ่านเดี่ยว เพื่อการติดตั้งระบบที่มีหนึ่งผู้ดูแลระบบต่อหนึ่งเครื่องอ่าน (interrogators) อาร์เอฟไอดี ต่อเครื่อง โดยระบบนี้ จะมีประสิทธิภาพในระดับน่าพอใจ แต่หากมีระบบที่มีการใช้งาน อาร์เอฟอยู่ใกล้ๆ ก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการรบกวน
ผลิตภัณฑ์แบบการอ่านแบบกลุ่ม ใช้งานในระบบอาร์เอฟได้ดีกว่า รวมถึงมีการใช้งานย่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงมีการจัดการเรื่องของการส่งผ่านสัญญานได้ดีกว่า โดยจะสามารถดำเนินการในสภาวะการอ่านผลิตภัณฑ์ต่อครั้ง โดยไม่แสดงปัญหาให้เห็น
ส่วนการอ่านแบบหนาแน่น จะใช้งานในสภาวะการใช้งานในการอ่านผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 ชิ้น อย่างศูนย์การกระจายผลิตภัณฑ์และโรงงานที่มีการใช้งานระบบอาร์เอฟไอดี ถือเป็นทางเลือกที่รวดเร็วที่สุดในการติดตั้งอุปกรณ์ อีพีซี และมีการใช้งานย่านความถี่แบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และป้องกันสิ่งรบกวนต่างๆ
ความน่าเชื่อถือ
มาตรฐาน เจน 2 ยังรวมถึงข้อกำหนดที่มีการปรับปรุงจากยุคที่ 1 ทำให้การแสดงผลด้านการอ่านมีความน่าชื่อถือมากขึ้น และยังมีทางในการติดตั้งมาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงการเชื่อมโยง ข้อมูลและความน่าเชื่อถือของเครือข่าย
ตัวเลข อีพีซี รูปแบบข้อมูล ซึ่งทำให้เป็นไปได้ในการจำแนกการอ่านข้อมูลและการเขียนบนแถบป้าย มาตรฐานการอ่านเจน 2 จะเปลี่ยนการอ่านข้อมูลจากผู้อ่าน (เหมือนในเจน 1) สู่การต่อเชื่อมที่จะทำให้ปฏิบัติการได้เร็วขึ้น
เจน 2 ยังเพิ่มในส่วนของการป้องกันของการอ่านผิด หรือที่เรียกว่า แถบป้ายผี ที่จะมีการบันทึกเมื่อมีการข้อมูลจากแถบป้ายที่แตกต่าง รวมถึงแปลงเป็นเป็นการจำแนกแบบกรอ่านเดี่ยว.
นอกจากนั้นแล้ว แถบป้ายของ เจน 2 ยังคงแสดงข้อมูลที่เขียนในแถบป้าย ผู้ใช้ในเทคโนโลยีในยุคที่ 1 จะเคยพบข้อมูลที่ผิดพลาด และทำให้การพิสูจน์ ความต้องการ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือของมาตรฐาน เจน 2
ย่าน ความถี่
ความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ใช่ข้อระบุของมาตรฐาน จะเป็นตัวชี้นำย่านที่ต้องการใช้สำหรับระบบอีพีซีของเจน 2 เจน 2 ช่วยให้การส่งผ่านย่านความถี่สเปคตรัมแต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ซึ่งจะมีการนำเสนอผ่านสื่อหลากรูปแบบ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้ยานความถี่ และช่วยให้มีการปรับปรุงย่านสำหรับเทคนิคการส่งสัญญาน
ระบบรักษาความปลอดภัย
แถบป้าย มาตรฐานอีพีซี ได้รับการป้องกันในเรื่องของรบกวน โปรโตคอลของมาตรฐานรวมถึงการเข้ารหัส และการใช้งานแถบป้าย และผู้อ่านในการสร้างระบบความปลอดภัยก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่ง ซึ่งทำให้ยากในการปรับเปลี่ยนเลขหมายอีพีซี
ในบางอุตสากรรมที่รวมถึง ค้าปลีกและ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทำให้แถบป้ายใช้งานไม่ได้ เพื่อข้อมูลจะไม่สามารถต่อเชื่อมได้ และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าก็จะไม่ตั้งเป้าและยังมีการรองรับมาตรฐานในความ ต้องการของลูกค้า เพื่อป้องกันป้านที่ไม่ได้รับการรองรับหรือ ใช้งานไม่ได้
เจน 2 ยังสนับสนุน “cloaking” ที่ช่วยให้แถบป้ายที่ตั้งให้สามารถสื่อสารกับผู้อ่านที่ได้รับอนุญาติโดยผู้ อ่านจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนที่แถบป้ายจะมีการสื่อสารต่างๆ และรหัสผ่านยังเป็นที่ต้องการสำหรับการเขียนแถบป้าย หรือทำให้ชำรุดเพื่อเพิ่มระบบความปลอดภัยมากขึ้น
ต้นทุน
หนึ่งในแรงบันดาลใจในการพัฒนาระบบอีพีซี คือ การสร้างเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี ที่มีประสิทธิภาพในเรื่องต้นทุนสำหรับการดำเนินงานในเรื่องซัพพลายเชน เป้าหมายในเรื่องนี้ได้มุ่งไปที่เรื่องของการทำข้อกำหนด ที่ช่วยต้นทุนในการผลิตชิพและอุปกรณ์ถูกลงผู้ใช้กลุ่มแรกที่มีการใช้งานกับ อีพีซีในยุคที่ 1 ได้เปิดเผยว่า การออกแบบแบบต้นทุนต่ำนั้น มีข้อจำกัดในการใช้งานจริง รวมถึงในเรื่องของความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัยของข้อมูล, รวมถึงน่านความถี่ มาตรฐานยุคที 2 ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษในการสร้างความพอใจและความกังวลของลูกค้า
มูลค่า ได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญมากกว่าต้นทุน แต่ใช่เรื่อง่ายในการเปรียบเทียบในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง โดยไม่มีความเข้าใจที่ดีในเรื่องฟังก์ชั่นที่ต้องการของระบบ
มาตรฐาน อีพีซี เจน 2 ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเรื่องต้นทุนและฟังก์ชั่นที่จะนำไปสู่เรื่องของ การพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าในเรื่องต้นทุน ซึ่งเป้ฯสิ่งที่ต้องการสำหรับการใช้งานจริง
Intermec Intellitag Gen 2 RFID systems.
จากประวัติการมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่อง RFID รวมถึงติดตามอย่างใกล้ชิดในเรื่องการพัฒนามาตรฐานระดับโลก อีพีซี ซึ่งอินเตอร์เม็คมีลักษณะที่คล้ายกับมาตรฐานเจน 2 ความแตกต่างว่าจะติดตั้งอย่างไร และเรื่องการแสดงผลเมื่อมีการใช้งานจริง
ระบบ Intellitag เจน 2 ได้รับการออกแบบให้เหนือข้อจำกัด ในพื้นฐานของมาตรฐานเจน 2 เพื่อช่วยให้เกิด การแสดงผลขั้นสูง ฟีเจอร์การทำงานหลายแบบที่รองรับมาตรฐาน เจน 2 เป็นมาตรฐานที่มีผลิตภัณฑ์ Intellitag. ระบบอาร์เอฟไอดี Intellitag ของ อินเตอร์เม็ค นำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในมาตรฐานเจน 2 การทำงานของผู้อ่านแบบหนาแน่น ,การจำแนกการเขียน,ความทนทาน, ย่านความถี่, การป้องกันการเขียน รวมถึงฟังก์ชั่นการทำลายแถบป้าย
อินเตอรเม็คยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องฟีเจอร์ที่ไม่จับคู่กัน ในผลิตภัณฑ์ เจน 2 โดยได้มีสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้นำในทุกเซกเมนต์ สำหรับอุตสาหกรรม อาร์เอฟไอดี จากผู้ผลิตชิพถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการผสาน ความสัมพันธ์นี้ รวมถึงข้อตกลงเรื่องการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ช่วยให้อินเตอร์เม็ค และพันธมิตร นำเสนอระบบที่มีจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ของ Intellitag.
โดยความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างในการแสดงผล, ความน่าเชื่อถือ และลดการใช้ในมาตรฐานที่แตกต่าง การร้องเรียนในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต ผู้ใช้เจน 2 จะสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างพื้นฐานในแอพลิเค ชั่น สิ่งทีสำคัญที่สุดในการจำเรื่อง อีพีซี เทคโนโลยี เจน 2 คือ มาตรฐานไม่ได้หมายถึง การเทียบเท่า
ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่ โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์ คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2))
ระบบ อีพีซี (EPC) รุ่นที่ 2 ของคุณเข้าสูมาตรฐานหรือไม่
โดย นาย Stuart Scott, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท อินเตอร์เมค เทคโนโลยีส์
คำมั่นสัญญาในการเพิ่มฟังก์ชั่นระบบ อาร์เอฟไอดี (RFID)ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานใหม่ อีพีซี รุ่นที่ 2 ( EPC global Generation 2 (Gen 2)) ได้สร้างรากฐานให้กับยุคใหม่ของการใช้ อาร์เอฟไอดีในระบบซัพพลายเชน เจน 2 ได้ก่อตั้งอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นทางเลือกของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีให้ กับองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมถึงพันธมิตรด้านการค้าของเขาด้วย และเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่า เจน 2 เป็นจุดเริ่มต้น แต่ไม่ใช่จุดจบของนวัตกรรมด้านซัพพลายเชนที่เป็นอาร์เอฟไอดี มันอาจเป็นเรื่องที่ประหลาดใจที่ว่า มีความแตกต่างที่สำคัญด้านประสิทธิภาพและความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่รองรับกับเจน 2
เจน 2 สร้างแพลทฟอร์มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และระบบในอาร์เอฟไอดีที่จะปรับปรุงการจัดการด้านการ
จัดเก็บผลิตภัณฑ์ (Inventory),ระบบลอจิสติกส์ รวมถึงการดำเนินงานด้านค้าปลีกทั่ว โลก อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่ได้มีประสิทธิภาพที่เป็นมาตรฐาน บริษัทต่างๆจะต้องการข้อมูลที่คล้ายคลึงกันเหมือนกับคู่แข่งของเขา รวมถึงการเปรียบเทียบในเรื่องของการดำเนินธุรกิจ แต่สภาพแวดล้อมด้านการใช้งานจะเป็นอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นมาตรฐานหรือเหมือน กัน เจน 2 หรือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแบบ ใดก็ตาม จะไม่ให้ประสิทธิภาพเหมือนกันเสียทีเดียวกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 2 แบบ และนี่เองเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เจน 2 ระบุรายละเอียด และลำดับของประสิทธิภาพ ที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ เจน 2 ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยความเข้าใจ ในรายละเอียดเรื่องประสิทธิภาพของเจน 2 และคุณสมบัติที่แตกต่าง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพแท้จริง ผู้ใช้สามารถระบุระบบ เจน 2 ที่ให้ฟังก์ชั่นและประโยชน์ตามที่ต้องการปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการนำ เทคโนโลยี เจน 2 อาร์เอฟไอดีมาใช้ ประกอบด้วยความเร็ว ประสิทธิภาพ, ความน่าเชื่อถือ, ลำดับ, ความปลอดภัย และราคา
ความเร็ว
พื้นฐานของผู้ใช้งานด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก คือ ความสามารถในการอ่านแถบป้าย (tags) อาร์เอฟไอดีอย่าง รวดเร็วและทันทีทันใด ความต้องการในเรื่องความเร็วของเจน 2 ถูกพัฒนาและแก้ไขให้ดีขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการและประสบการณ์ของผู้ใช้ เทคโนโลยี รุ่นที่ 1 หรือ เจน 1 ความสามารถในการระบุและจำแนกสิ่งต่างๆ ด้วยความเร็วของระบบเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจัดลำดับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดจำหน่าย และการบริหารการจัดเก็บสินค้า
ทั้งนี้ ไม่มีระบุความเร็วที่ตายตัวหรือจำกัดในมาตรฐานเจน 2 เพราะว่าการอ่านความเร็วขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ได้แก่ กำลังของไฟฟ้า, ความจุของแถบป้าย และสภาพแวดล้อมของอาร์เอฟ คุณสมบัติเฉพาะด้านเทคนิคของเจน 2 ควรให้เครื่องอ่านสามารถอ่านแถบป้ายกว่า 1,500 แถบป้าย ต่อวินาทีในตลาดอเมริกาเหนือ และ อ่าน 600 ครั้งต่อวินาทีในยุโรป ซึ่งมีข้อจำกัดด้านความถี่และไฟฟ้ามากกว่า
คุณสมบัติเฉพาะของเจน 2 สนับสนุน “การเลือกแบบกลุ่ม” ที่ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญในการอ่านและจัดลำดับข้อมูลความเร็วสูง ช่วยให้ RFID interrogators หรือเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ค้นหาและอ่านกลุ่มแถบป้ายที่เลือก (ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของข้อมูล) และไม่สนใจกับส่วนอื่น และยังช่วยลดจำนวนข้อมูลที่ระบบต้องประมวลผลเพื่อการอ่านเร็วขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยีใหม่ของคุณสมบัติเจน 2 ที่เรียกว่า “ persistence” ทำให้แถบป้ายมีความสามารถในการจำสถานะ หากเข้าถึงข้อมูลผิดพลาดจากเครื่องอ่าน และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการอ่านครั้งใหญ่ โดยเฉพาะแผ่นแถบป้ายจำนวนมาก
ประสิทธิภาพช่วงความถี่ (Bandwidth)
ช่วงความถี่ของการสื่อสารไร้สาย มีข้อจำกัด มีการกำกับขั้นสูง และต้องมีการจัดการอย่างระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์ เจน2 สามารถใช้งานได้ทั่วโลก โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต และให้ลำดับ, ความเร็ว และประสิทธิภาพอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับความต้องการของแอพพลิเคชั่นด้านซัพพลายเชนที่กำหนดโดยผู้ใช้ ซึ่งทำให้ชนะอุปสรรคในเรื่องของการติดตั้งระบบเจนเนอเรชั่นที่ 1 ที่พัฒนาภายใต้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลคลื่นวิทยุของสหรัฐ (U.S Federal Communication Commission: FCC) โดยข้อกำหนดนี้ ไม่ได้สอดคล้องกับข้อกำหนดของรัฐบาลทั่วโลก และต้องการใบอนุญาตสำหรับผู้ใช้งานในโลก
มาตรฐาน เจน 2 นี้ ช่วยผู้ใช้ได้รับความยืดหยุ่นในเรื่องการใช้ประโยชน์ช่วงความถี่ ประสิทธิภาพของระบบ สามารถใช้งานอยู่บนจำนวนของอุปกรณ์อาร์เอฟที่ทำงาน มาตรฐานนี้ได้แบ่งการทำงานของผลิตภัณฑ์ เจน 2 เป็น 3 โหมด คือ เครื่องอ่านเดี่ยว(single reader) และเครื่องอ่านหลายระบบ (multi-reader) และเครื่องอ่านแบบหนาแน่น (dense reader) คุณสมบัติในแต่ละโหมด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งานปกติ
คุณสมบัติของโหมดเครื่องอ่านเดี่ยว เพื่อการติดตั้งระบบที่มีหนึ่งผู้ดูแลระบบต่อหนึ่งเครื่องอ่าน (interrogators) อาร์เอฟไอดี ต่อเครื่อง โดยระบบนี้ จะมีประสิทธิภาพในระดับน่าพอใจ แต่หากมีระบบที่มีการใช้งาน อาร์เอฟอยู่ใกล้ๆ ก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการรบกวน
ผลิตภัณฑ์แบบการอ่านแบบกลุ่ม ใช้งานในระบบอาร์เอฟได้ดีกว่า รวมถึงมีการใช้งานย่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงมีการจัดการเรื่องของการส่งผ่านสัญญานได้ดีกว่า โดยจะสามารถดำเนินการในสภาวะการอ่านผลิตภัณฑ์ต่อครั้ง โดยไม่แสดงปัญหาให้เห็น
ส่วนการอ่านแบบหนาแน่น จะใช้งานในสภาวะการใช้งานในการอ่านผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 ชิ้น อย่างศูนย์การกระจายผลิตภัณฑ์และโรงงานที่มีการใช้งานระบบอาร์เอฟไอดี ถือเป็นทางเลือกที่รวดเร็วที่สุดในการติดตั้งอุปกรณ์ อีพีซี และมีการใช้งานย่านความถี่แบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และป้องกันสิ่งรบกวนต่างๆ
ความน่าเชื่อถือ
มาตรฐาน เจน 2 ยังรวมถึงข้อกำหนดที่มีการปรับปรุงจากยุคที่ 1 ทำให้การแสดงผลด้านการอ่านมีความน่าชื่อถือมากขึ้น และยังมีทางในการติดตั้งมาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงการเชื่อมโยง ข้อมูลและความน่าเชื่อถือของเครือข่าย
ตัวเลข อีพีซี รูปแบบข้อมูล ซึ่งทำให้เป็นไปได้ในการจำแนกการอ่านข้อมูลและการเขียนบนแถบป้าย มาตรฐานการอ่านเจน 2 จะเปลี่ยนการอ่านข้อมูลจากผู้อ่าน (เหมือนในเจน 1) สู่การต่อเชื่อมที่จะทำให้ปฏิบัติการได้เร็วขึ้น
เจน 2 ยังเพิ่มในส่วนของการป้องกันของการอ่านผิด หรือที่เรียกว่า แถบป้ายผี ที่จะมีการบันทึกเมื่อมีการข้อมูลจากแถบป้ายที่แตกต่าง รวมถึงแปลงเป็นเป็นการจำแนกแบบกรอ่านเดี่ยว.
นอกจากนั้นแล้ว แถบป้ายของ เจน 2 ยังคงแสดงข้อมูลที่เขียนในแถบป้าย ผู้ใช้ในเทคโนโลยีในยุคที่ 1 จะเคยพบข้อมูลที่ผิดพลาด และทำให้การพิสูจน์ ความต้องการ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือของมาตรฐาน เจน 2
ย่าน ความถี่
ความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ใช่ข้อระบุของมาตรฐาน จะเป็นตัวชี้นำย่านที่ต้องการใช้สำหรับระบบอีพีซีของเจน 2 เจน 2 ช่วยให้การส่งผ่านย่านความถี่สเปคตรัมแต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ซึ่งจะมีการนำเสนอผ่านสื่อหลากรูปแบบ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้ยานความถี่ และช่วยให้มีการปรับปรุงย่านสำหรับเทคนิคการส่งสัญญาน
ระบบรักษาความปลอดภัย
แถบป้าย มาตรฐานอีพีซี ได้รับการป้องกันในเรื่องของรบกวน โปรโตคอลของมาตรฐานรวมถึงการเข้ารหัส และการใช้งานแถบป้าย และผู้อ่านในการสร้างระบบความปลอดภัยก่อนที่ข้อมูลจะถูกส่ง ซึ่งทำให้ยากในการปรับเปลี่ยนเลขหมายอีพีซี
ในบางอุตสากรรมที่รวมถึง ค้าปลีกและ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ทำให้แถบป้ายใช้งานไม่ได้ เพื่อข้อมูลจะไม่สามารถต่อเชื่อมได้ และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าก็จะไม่ตั้งเป้าและยังมีการรองรับมาตรฐานในความ ต้องการของลูกค้า เพื่อป้องกันป้านที่ไม่ได้รับการรองรับหรือ ใช้งานไม่ได้
เจน 2 ยังสนับสนุน “cloaking” ที่ช่วยให้แถบป้ายที่ตั้งให้สามารถสื่อสารกับผู้อ่านที่ได้รับอนุญาติโดยผู้ อ่านจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนที่แถบป้ายจะมีการสื่อสารต่างๆ และรหัสผ่านยังเป็นที่ต้องการสำหรับการเขียนแถบป้าย หรือทำให้ชำรุดเพื่อเพิ่มระบบความปลอดภัยมากขึ้น
ต้นทุน
หนึ่งในแรงบันดาลใจในการพัฒนาระบบอีพีซี คือ การสร้างเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี ที่มีประสิทธิภาพในเรื่องต้นทุนสำหรับการดำเนินงานในเรื่องซัพพลายเชน เป้าหมายในเรื่องนี้ได้มุ่งไปที่เรื่องของการทำข้อกำหนด ที่ช่วยต้นทุนในการผลิตชิพและอุปกรณ์ถูกลงผู้ใช้กลุ่มแรกที่มีการใช้งานกับ อีพีซีในยุคที่ 1 ได้เปิดเผยว่า การออกแบบแบบต้นทุนต่ำนั้น มีข้อจำกัดในการใช้งานจริง รวมถึงในเรื่องของความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัยของข้อมูล, รวมถึงน่านความถี่ มาตรฐานยุคที 2 ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษในการสร้างความพอใจและความกังวลของลูกค้า
มูลค่า ได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญมากกว่าต้นทุน แต่ใช่เรื่อง่ายในการเปรียบเทียบในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง โดยไม่มีความเข้าใจที่ดีในเรื่องฟังก์ชั่นที่ต้องการของระบบ
มาตรฐาน อีพีซี เจน 2 ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเรื่องต้นทุนและฟังก์ชั่นที่จะนำไปสู่เรื่องของ การพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าในเรื่องต้นทุน ซึ่งเป้ฯสิ่งที่ต้องการสำหรับการใช้งานจริง
Intermec Intellitag Gen 2 RFID systems.
จากประวัติการมุ่งเน้นการพัฒนาเรื่อง RFID รวมถึงติดตามอย่างใกล้ชิดในเรื่องการพัฒนามาตรฐานระดับโลก อีพีซี ซึ่งอินเตอร์เม็คมีลักษณะที่คล้ายกับมาตรฐานเจน 2 ความแตกต่างว่าจะติดตั้งอย่างไร และเรื่องการแสดงผลเมื่อมีการใช้งานจริง
ระบบ Intellitag เจน 2 ได้รับการออกแบบให้เหนือข้อจำกัด ในพื้นฐานของมาตรฐานเจน 2 เพื่อช่วยให้เกิด การแสดงผลขั้นสูง ฟีเจอร์การทำงานหลายแบบที่รองรับมาตรฐาน เจน 2 เป็นมาตรฐานที่มีผลิตภัณฑ์ Intellitag. ระบบอาร์เอฟไอดี Intellitag ของ อินเตอร์เม็ค นำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในมาตรฐานเจน 2 การทำงานของผู้อ่านแบบหนาแน่น ,การจำแนกการเขียน,ความทนทาน, ย่านความถี่, การป้องกันการเขียน รวมถึงฟังก์ชั่นการทำลายแถบป้าย
อินเตอรเม็คยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องฟีเจอร์ที่ไม่จับคู่กัน ในผลิตภัณฑ์ เจน 2 โดยได้มีสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้นำในทุกเซกเมนต์ สำหรับอุตสาหกรรม อาร์เอฟไอดี จากผู้ผลิตชิพถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการผสาน ความสัมพันธ์นี้ รวมถึงข้อตกลงเรื่องการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ช่วยให้อินเตอร์เม็ค และพันธมิตร นำเสนอระบบที่มีจุดเด่นด้านผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ของ Intellitag.
โดยความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างในการแสดงผล, ความน่าเชื่อถือ และลดการใช้ในมาตรฐานที่แตกต่าง การร้องเรียนในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต ผู้ใช้เจน 2 จะสามารถตัดสินใจได้ดีที่สุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างพื้นฐานในแอพลิเค ชั่น สิ่งทีสำคัญที่สุดในการจำเรื่อง อีพีซี เทคโนโลยี เจน 2 คือ มาตรฐานไม่ได้หมายถึง การเทียบเท่า
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
กรมเจรจาการค้าฯ
กรมเจรจาการค้าฯ จัดสัมมนา “โอกาสทางการค้าสินค้า บริการและการลงทุนของผู้ประกอบการ (SMEs)
Friday, 8 January 2010 11:19 -- ทั่วไป
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--พีเพิล มีเดีย
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กำหนดจัดการสัมมนา เรื่อง “โอกาสทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนของผู้ประกอบการ (SMEs) กับการเป็น AEC : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน“ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเปิดเสรีสาขาสินค้า สาขาบริการ ในอาเซียน สู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงทราบข้อมูลเพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในวันพุธที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องควีนส์ปาร์ค 1 ชั้น 2 โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท 22 กรุงเทพฯ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จึงขอเรียนเชิญท่านร่วมทำข่าวการสัมมนาดังกล่าว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานสัมมนาให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และเกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ในการจัดสัมมนา ทั้งนี้ หากท่านประสงค์ ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณปิยะนันท์ ภิรมย์ฉัตรเพชร ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2734 1791 ต่อ 114 และ 08 1714 6700
Friday, 8 January 2010 11:19 -- ทั่วไป
google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);
กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--พีเพิล มีเดีย
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กำหนดจัดการสัมมนา เรื่อง “โอกาสทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนของผู้ประกอบการ (SMEs) กับการเป็น AEC : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน“ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเปิดเสรีสาขาสินค้า สาขาบริการ ในอาเซียน สู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ใช้ประโยชน์จากความตกลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงทราบข้อมูลเพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ในวันพุธที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องควีนส์ปาร์ค 1 ชั้น 2 โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท 22 กรุงเทพฯ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จึงขอเรียนเชิญท่านร่วมทำข่าวการสัมมนาดังกล่าว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานสัมมนาให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และเกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ในการจัดสัมมนา ทั้งนี้ หากท่านประสงค์ ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณปิยะนันท์ ภิรมย์ฉัตรเพชร ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2734 1791 ต่อ 114 และ 08 1714 6700
วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ 1
อาจารย์ธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ
ในภาวการณ์แข่งขันปัจจุบันธุรกิจจะต้องแข่งขันในหลายระดับ ทั้งแข่งขันกับคู่แข่งภายในประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศ ทั้งคู่แข่งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งภาวการณ์แข่งขันดังนี้เอง ธุรกิจที่มีความสามารถและมีโอกาสในการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศควรจะเริ่มพิจารณาช่องทางและโอกาสในการส่งสินค้า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลให้ขยายกิจการสู่ต่างประเทศมี 5 ประการดังนี้
1. บริษัทคู่แข่งซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาตินำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น และธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องหาตลาดในประเทศอื่น ๆ ทดแทนยอดขายที่สูญเสียไปจากการแข่งขันภายในประเทศ
2. ธุรกิจค้นพบว่าตลาดในบางประเทศสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจได้มากกว่า ด้วยการกำหนดราคาขายที่สูงกว่าตลาดภายในประเทศ ดังจะเห็นได้ชัดจากธุรกิจในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับ
3. ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตมีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานลูกค้าเพื่อให้ปริมาณการผลิตเข้าสู่จุดคุ้มค่าของการผลิต (Economy of Scale) ซึ่งขนาดตลาดภายในประเทศไม่เพียงพอ
4. ธุรกิจต้องการลดภาวะพึ่งพิงจากตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองต่ำไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจ
5. บ่อยครั้งที่กิจการจะต้องขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ เนื่องจากลูกค้าหลักของธุรกิจขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศและต้องการการบริการในประเทศนั้น ๆ ด้วย
โดยปรกติแล้ว การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศธุรกิจสามารถทำได้ 8 วิธี คือ
1. การส่งออกทางอ้อม(Indirect Exporting) คือการขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการดังนี้ จะช่วยลดเงินลงทุนทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในลักษณะตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมือง ตลอดจนสภาวการณ์แข่งขันและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม วิธีการขยายตลาดสู่ต่างประเทศวิธีการนี้มีข้อด้อยตรงที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมเหนือนโยบายการทำธุรกิจของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับกลยุทธ์ทางการตลาดของกิจการในอนาคต เช่น การวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ (Brand Positioning) นโยบายราคา เป็นต้น
2. การส่งออกทางตรง (Direct Exporting) วิธีการนี้ธุรกิจจะมีแผนกขายระหว่างประเทศ (Exporting Department) ซึ่งแผนกดังกล่าวจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ วิธีการดังกล่าว ทำให้ธุรกิจจะต้องแบกรับความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็มีอำนาจในการควบคุมนโยบายการทำการตลาดในต่างประเทศมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยมากกิจการจะใช้วิธีการขยายตลาดด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า และใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขายเป็นหลัก
3. การให้ใบอนุญาต ( Licensing ) การขยายธุรกิจลักษณะนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ ผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า สิทธิบัตร หรือกระบวนการผลิตที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจ้าของธุรกิจผู้ให้ใบอนุญาต โดยได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของสัญญาสัมปทาน ทั้งแบบที่เป็นเงินก้อน หรือผูกพันกับยอดผลิต/จัดจำหน่ายสินค้า การขยายตลาดในลักษณะนี้มีข้อดีในการจำกัดความเสี่ยงของธุรกิจได้ เช่นเดียวกับการส่งออกแบบทางอ้อม แต่ก็ไม่สามารถควบคุมนโยบายทางธุรกิจของผู้รับสัมปทานได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สินค้าประสบความสำเร็จธุรกิจมีโอกาสที่จะขยายลูกค้าเพิ่มเติม หรือเข้ามาลงทุนด้วยตัวเองเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทาน
4. เฟรนไชส์ (Franchising) เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต (Licensing) แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย ดังนั้น ธุรกิจจะมีอำนาจในการกำหนดบังคับนโยบายทางการตลาดในขณะที่ผู้รับใบอนุญาตแทบจะไม่มีอำนาจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใด ๆ เลย นอกจากนี้ เฟรนไชส์ยังมีข้อดีเช่นเดียวกับการขยายตลาดแบบการให้ใบอนุญาต (Licensing) อีกด้วย
5. การจ้างผลิต (Contract Manufacturing) รูปแบบของการขยายธุรกิจในลักษณะนี้มีข้อดีอยู่ตรงที่เป็นการลดต้นทุนการนำเข้าของสินค้า ซึ่งรวมถึงลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน และลดข้อกีดกันทางการค้าในด้านการนำเข้าได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็ใช้เงินลงทุนไม่มาก อย่างไรก็ตามการจ้างผลิตมีความจำเป็น
็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพการผลิตและกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อตกลงทีระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างดี รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการลักลอบนำสินค้าที่ผลิตเกินจำนวนหรือสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานมาจำหน่าย
6. การร่วมลงทุน (Joint Venture) การลงทุนชนิดนี้เป็นรูปแบบของการไปร่วมลงทุนธุรกิจกับคู่ค้าเจ้าถิ่นในต่างประเทศ ในลักษณะของการถือหุ้นบริษัท ซึ่งธุรกิจจะนำความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์เข้าทำตลาดกับผู้ร่วมลงทุนในท้องถิ่นที่มีความรู้ความเข้าใจในตลาดท้องถิ่น ทั้งด้านพฤติกรรมผู้บริโภค วัฒนธรรมท้องถิ่น นโยบายทางธุรกิจ ซึ่งมีข้อดี คือ ธุรกิจสามารถควบคุมดูแลนโยบายทางการตลาดได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากทั้งธุรกิจและผู้ร่วมลงทุนต่างมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การสร้างกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจ แต่ถึงกระนั้น นโยบายการทำตลาดอาจจะไม่เป็นไปตามที่ธุรกิจได้คาดหวังไว้ ถ้าหากผู้ร่วมลงทุน ไม่มีนโยบายทางธุรกิจที่สอดคล้องหรือไม่มีศักยภาพที่เท่าเทียมกัน
7. การซื้อกิจการ (Acquisition) เป็นรูปแบบของการขยายตลาดชนิดควบคุมนโยบายทางธุรกิจได้ในรูปแบบที่รวดเร็วที่สุด ข้อดีของการขยายตลาดแบบนี้ คือ ธุรกิจจะเข้าควบคุมกิจการที่ถูกซื้อและทรัพยากรทั้งหมด ทั้งในด้านโรงงาน โครงสร้างการจัดจำหน่าย ตราสินค้า และบุคคลากร อีกทั้งการเข้าตลาดด้วยวิธีนี้เป็นการลดจำนวนคู่แข่งไปด้วยในตัว ข้อเสียของการขยายตลาดด้วยวิธีนี้ คือ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงควบคู่กับความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องของการเข้ากันได้ของวัฒนธรรมองค์กรจากบุคคลากร 2 ประเทศ
8. การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment) เป็นรูปแบบการขยายธุรกิจที่ธุรกิจจะมีอำนาจควบคุมนโยบายทางธุรกิจสูงที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน การลงทุนโดยตรงก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงที่สุด และแบกรับความเสี่ยงในทุก ๆ เรื่อง ธุรกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเทศที่จะเข้าไปลงทุน เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค และสภาพการแข่งขันของธุรกิจ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในกิจการได้
กรณีศึกษา
การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ-กระทิงแดง
ภาพของชายวัยย่างเข้า 80 นุ่งกางเกงแพร สวมเสื้อ ใส่งอบ ขี่จักรยานคันโปรดด้วยท่าทางที่แข็งแรงคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไปรอบๆ โรงงานที่ย่านบางบอน ในทุกๆ เช้า มักเป็นที่คุ้นตาของคนทั่วๆ ไปในย่านนั้น หลายคนอาจจะรู้เพียงว่าชายสูงอายุร่างเล็กคนนี้เป็นผู้จัดการโรงงาน "กระทิงแดง" แต่คงไม่มีใครนึกมาก่อนว่าชายคนนี้จะเป็นมหาเศรษฐีที่รวยเป็นพันล้านหมื่นล้าน นี่คือกิจวัตรประจำวันทุกเช้าของของ "เฉลียว อยู่วิทยา" คนที่ได้ชื่อรวยติดอันดับโลก
“เฉลียว” ชอบขี่จักรยานตรวจโรงงานทุกๆ เช้า เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ในการตรวจตราโรงงานแล้ว การขี่จักรยานยังเป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างการแข็งแรงด้วย เฉลียว หรือ โกเหลียว เป็นคนเชื้อจีน ปู่มาจากเมืองจีน ย่าเป็นคนไทย เป็นคนจังหวัดพิจิตรโดยกำเนิด เขาไม่ได้รำรวยชนิดคาบช้อนเงินคาบช้อนทองมาตั้งแต่เกิด ครอบครัวยากจน ต้องปากกัดตีนถีบ ช่วยพ่อแม่ทำงานกันตั้งแต่เด็กๆ ทำงานมาหลายอย่าง ขายทุเรียน ขายส้มโอ ฯลฯ ก่อนที่จะผลิกผันชีวิตมาค้าขายยารักษาโรคในช่วงสมัยสงครามโลก จากนั้นก็ขยับขยายมาตั้งโรงงานผลิตยาอยู่แถวๆ คลองหลอด ยาแก้ไข้ ที.ซี.มัยซิน ยาน้ำเบบี้ดอลล์ จากธุรกิจผลิตยาเมื่อกว่า 30 ปีก่อน โกเหลียว ก็หันมาเอาดีกับธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง แข่งกับบริษัทจากญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อว่า "กระทิงแดง" เฉลียว เริ่มปลุกปั้น กระทิงแดง ตั้งแต่ตั้งชื่อ ออกแบบโลโก้ กระทิงแดงสองตัวหันหน้าวิ่งชนกัน เดินไปตามถนนเพื่อแจกให้ให้ลูกค้าชิมฟรีๆ ลองผิดลองถูกปรับสูตรจนลงตัว ก่อนจะเริ่มโปรโมตด้วยวลี ที่ว่า กระทิงแดง ซู่ซ่า...ซู่ซ่า ! ที่ใครๆ ก็พูดถึง หรือแม้กระทั่งเป็นเซลส์แมนเดินสายไปขายเองในต่างจังหวัด "โกเหลียว" สร้างกระทิงแดงขึ้นมาจากบริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานไม่ถึง 10 คน จนกระทิงแดงเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานร่วมพันคน ยิ่งไปกว่านั้นวันนี้ กระทิงแดง ผลิต-จำหน่ายสร้างตลาดในต่างประเทศโดยใช้ชื่อว่า เรดบูล (Red Bull) จนกระทั่งสามารถส่งเครื่องดื่มชนิดนี้ไปขายทั่วโลกในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกา อาฟริกา จีน ฯลฯ และมีโรงงานอยู่ในหลายๆประเทศ เช่น ออสเตรีย จีน เวียดนาม ฯลฯ จุดหักเหที่สำคัญที่สุดซึ่ง "ต่อยอด"ให้ธุรกิจเครื่องดื่ม กระทิงแดง-เรดบูล ก้าวกระโดดไปทั่วโลกและสร้างรายได้จนรวยมหาศาลเช่นทุกวันนี้ มาจากความกล้าในการตัดสินใจก้าวข้ามการแข่งขันภายในประเทศออกไปประกาศศักดิ์ศรีในเวทีตลาดโลกนั่นเอง อย่างไรก็ตามภารกิจที่สำคัญนี้คงจะไม่อาจประสบความสำเร็จได้ถ้าหากขาดผู้ร่วมลงทุนที่ดีอย่าง "ดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz) เซลส์แมนชาวออสเตรีย ที่ได้รับการยอมรับในภายหลังว่าเป็นนักสร้างตลาด เรดบูล จนไต่ขึ้นชั้น โกลบอล แบรนด์ และเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มให้พลังงาน ( Energy Drink ) เกือบ 100 ประเทศทั่วโลก โดยอาศัยนวัตกรรมเครื่องดื่มให้พลังงานที่มีรากเหง้า จาก เครื่องดื่ม "กระทิงแดง" ของบ้านเรา
การขยายธุรกิจต่างประเทศของกระทิงแดงนั้นเริ่มจากการที่ "ดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz)ได้มาเห็นกระทิงแดงในเมืองไทยและได้ชักชวนให้ เฉลียว ไปลงทุนในต่างแดน โดยให้ฝ่ายไทยถือหุ้นใหญ่ โดยให้ฝ่ายไทยถือหุ้น 51% และ ดีทริช มาเตอชิทช์ ถือหุ้น 49% เนื่องจากเขามีความคิดว่าน่าจะนำ เครื่องดื่มกระทิงแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ "เฉลียว" คิดค้นขึ้นมา และจำหน่ายในเมืองไทย ไปเผยแพร่ยังยุโรป
เรดบูล เริ่มผลิตและวางจำหน่ายในยุโรป โดยก่อตั้งบริษัท Red Bull GmbH. เมื่อ ปี 1984 โดยเริ่มจากผลิตและจำหน่ายในประเทศออสเตรียก่อน จากนั้นก็ค่อยๆขยายตลาดออกไปยังประเทศอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง
ถึงกระนั้น อนาคตที่สดใสที่แท้จริงเพิ่งเริ่มต้น และพัฒนาจากความคิดสู่การปฏิบัติ เมื่อปี 1987 เมื่อสำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ เครื่องดื่มกระทิงแดง หรือ เรดบูล วางตลาดจำหน่ายสู่มือผู้บริโภค
ปัจจุบันเฉพาะฐานผลิตออสเตรีย สามารถผลิต เรดบูลออก จำหน่ายได้ 1.5 ล้านกระป๋อง ครอบคลุมเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการทำตลาด ด้วยส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละประเทศ ที่มีอัตราเฉลี่ยตั้งแต่ 65-90% ซึ่งเป็นผลมาจากการทำตลาดด้วยนวัตกรรมใหม่ของสินค้าและการตลาด ที่ไม่มีคู่แข่งรายใดทำได้
สำหรับตลาดโลกในแต่ละปี เรดบูลมียอดขายถึง 900-1,000 ล้านกระป๋อง และถือเป็นหมายเลข 1 ของโลก สำหรับเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
อาจารย์ธีรศักดิ์ วงศ์ปิยะ
ในภาวการณ์แข่งขันปัจจุบันธุรกิจจะต้องแข่งขันในหลายระดับ ทั้งแข่งขันกับคู่แข่งภายในประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศ ทั้งคู่แข่งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งภาวการณ์แข่งขันดังนี้เอง ธุรกิจที่มีความสามารถและมีโอกาสในการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศควรจะเริ่มพิจารณาช่องทางและโอกาสในการส่งสินค้า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลให้ขยายกิจการสู่ต่างประเทศมี 5 ประการดังนี้
1. บริษัทคู่แข่งซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาตินำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น และธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องหาตลาดในประเทศอื่น ๆ ทดแทนยอดขายที่สูญเสียไปจากการแข่งขันภายในประเทศ
2. ธุรกิจค้นพบว่าตลาดในบางประเทศสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจได้มากกว่า ด้วยการกำหนดราคาขายที่สูงกว่าตลาดภายในประเทศ ดังจะเห็นได้ชัดจากธุรกิจในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับ
3. ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตมีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานลูกค้าเพื่อให้ปริมาณการผลิตเข้าสู่จุดคุ้มค่าของการผลิต (Economy of Scale) ซึ่งขนาดตลาดภายในประเทศไม่เพียงพอ
4. ธุรกิจต้องการลดภาวะพึ่งพิงจากตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองต่ำไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจ
5. บ่อยครั้งที่กิจการจะต้องขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ เนื่องจากลูกค้าหลักของธุรกิจขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศและต้องการการบริการในประเทศนั้น ๆ ด้วย
โดยปรกติแล้ว การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศธุรกิจสามารถทำได้ 8 วิธี คือ
1. การส่งออกทางอ้อม(Indirect Exporting) คือการขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการดังนี้ จะช่วยลดเงินลงทุนทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในลักษณะตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมือง ตลอดจนสภาวการณ์แข่งขันและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม วิธีการขยายตลาดสู่ต่างประเทศวิธีการนี้มีข้อด้อยตรงที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมเหนือนโยบายการทำธุรกิจของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับกลยุทธ์ทางการตลาดของกิจการในอนาคต เช่น การวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ (Brand Positioning) นโยบายราคา เป็นต้น
2. การส่งออกทางตรง (Direct Exporting) วิธีการนี้ธุรกิจจะมีแผนกขายระหว่างประเทศ (Exporting Department) ซึ่งแผนกดังกล่าวจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ วิธีการดังกล่าว ทำให้ธุรกิจจะต้องแบกรับความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็มีอำนาจในการควบคุมนโยบายการทำการตลาดในต่างประเทศมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยมากกิจการจะใช้วิธีการขยายตลาดด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า และใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขายเป็นหลัก
3. การให้ใบอนุญาต ( Licensing ) การขยายธุรกิจลักษณะนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ ผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า สิทธิบัตร หรือกระบวนการผลิตที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจ้าของธุรกิจผู้ให้ใบอนุญาต โดยได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของสัญญาสัมปทาน ทั้งแบบที่เป็นเงินก้อน หรือผูกพันกับยอดผลิต/จัดจำหน่ายสินค้า การขยายตลาดในลักษณะนี้มีข้อดีในการจำกัดความเสี่ยงของธุรกิจได้ เช่นเดียวกับการส่งออกแบบทางอ้อม แต่ก็ไม่สามารถควบคุมนโยบายทางธุรกิจของผู้รับสัมปทานได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สินค้าประสบความสำเร็จธุรกิจมีโอกาสที่จะขยายลูกค้าเพิ่มเติม หรือเข้ามาลงทุนด้วยตัวเองเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทาน
4. เฟรนไชส์ (Franchising) เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต (Licensing) แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย ดังนั้น ธุรกิจจะมีอำนาจในการกำหนดบังคับนโยบายทางการตลาดในขณะที่ผู้รับใบอนุญาตแทบจะไม่มีอำนาจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใด ๆ เลย นอกจากนี้ เฟรนไชส์ยังมีข้อดีเช่นเดียวกับการขยายตลาดแบบการให้ใบอนุญาต (Licensing) อีกด้วย
5. การจ้างผลิต (Contract Manufacturing) รูปแบบของการขยายธุรกิจในลักษณะนี้มีข้อดีอยู่ตรงที่เป็นการลดต้นทุนการนำเข้าของสินค้า ซึ่งรวมถึงลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน และลดข้อกีดกันทางการค้าในด้านการนำเข้าได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็ใช้เงินลงทุนไม่มาก อย่างไรก็ตามการจ้างผลิตมีความจำเป็น
็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพการผลิตและกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อตกลงทีระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างดี รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการลักลอบนำสินค้าที่ผลิตเกินจำนวนหรือสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานมาจำหน่าย
6. การร่วมลงทุน (Joint Venture) การลงทุนชนิดนี้เป็นรูปแบบของการไปร่วมลงทุนธุรกิจกับคู่ค้าเจ้าถิ่นในต่างประเทศ ในลักษณะของการถือหุ้นบริษัท ซึ่งธุรกิจจะนำความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์เข้าทำตลาดกับผู้ร่วมลงทุนในท้องถิ่นที่มีความรู้ความเข้าใจในตลาดท้องถิ่น ทั้งด้านพฤติกรรมผู้บริโภค วัฒนธรรมท้องถิ่น นโยบายทางธุรกิจ ซึ่งมีข้อดี คือ ธุรกิจสามารถควบคุมดูแลนโยบายทางการตลาดได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากทั้งธุรกิจและผู้ร่วมลงทุนต่างมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การสร้างกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจ แต่ถึงกระนั้น นโยบายการทำตลาดอาจจะไม่เป็นไปตามที่ธุรกิจได้คาดหวังไว้ ถ้าหากผู้ร่วมลงทุน ไม่มีนโยบายทางธุรกิจที่สอดคล้องหรือไม่มีศักยภาพที่เท่าเทียมกัน
7. การซื้อกิจการ (Acquisition) เป็นรูปแบบของการขยายตลาดชนิดควบคุมนโยบายทางธุรกิจได้ในรูปแบบที่รวดเร็วที่สุด ข้อดีของการขยายตลาดแบบนี้ คือ ธุรกิจจะเข้าควบคุมกิจการที่ถูกซื้อและทรัพยากรทั้งหมด ทั้งในด้านโรงงาน โครงสร้างการจัดจำหน่าย ตราสินค้า และบุคคลากร อีกทั้งการเข้าตลาดด้วยวิธีนี้เป็นการลดจำนวนคู่แข่งไปด้วยในตัว ข้อเสียของการขยายตลาดด้วยวิธีนี้ คือ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงควบคู่กับความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องของการเข้ากันได้ของวัฒนธรรมองค์กรจากบุคคลากร 2 ประเทศ
8. การลงทุนโดยตรง ( Direct Investment) เป็นรูปแบบการขยายธุรกิจที่ธุรกิจจะมีอำนาจควบคุมนโยบายทางธุรกิจสูงที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน การลงทุนโดยตรงก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงที่สุด และแบกรับความเสี่ยงในทุก ๆ เรื่อง ธุรกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเทศที่จะเข้าไปลงทุน เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค และสภาพการแข่งขันของธุรกิจ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในกิจการได้
กรณีศึกษา
การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ-กระทิงแดง
ภาพของชายวัยย่างเข้า 80 นุ่งกางเกงแพร สวมเสื้อ ใส่งอบ ขี่จักรยานคันโปรดด้วยท่าทางที่แข็งแรงคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ไปรอบๆ โรงงานที่ย่านบางบอน ในทุกๆ เช้า มักเป็นที่คุ้นตาของคนทั่วๆ ไปในย่านนั้น หลายคนอาจจะรู้เพียงว่าชายสูงอายุร่างเล็กคนนี้เป็นผู้จัดการโรงงาน "กระทิงแดง" แต่คงไม่มีใครนึกมาก่อนว่าชายคนนี้จะเป็นมหาเศรษฐีที่รวยเป็นพันล้านหมื่นล้าน นี่คือกิจวัตรประจำวันทุกเช้าของของ "เฉลียว อยู่วิทยา" คนที่ได้ชื่อรวยติดอันดับโลก
“เฉลียว” ชอบขี่จักรยานตรวจโรงงานทุกๆ เช้า เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ในการตรวจตราโรงงานแล้ว การขี่จักรยานยังเป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างการแข็งแรงด้วย เฉลียว หรือ โกเหลียว เป็นคนเชื้อจีน ปู่มาจากเมืองจีน ย่าเป็นคนไทย เป็นคนจังหวัดพิจิตรโดยกำเนิด เขาไม่ได้รำรวยชนิดคาบช้อนเงินคาบช้อนทองมาตั้งแต่เกิด ครอบครัวยากจน ต้องปากกัดตีนถีบ ช่วยพ่อแม่ทำงานกันตั้งแต่เด็กๆ ทำงานมาหลายอย่าง ขายทุเรียน ขายส้มโอ ฯลฯ ก่อนที่จะผลิกผันชีวิตมาค้าขายยารักษาโรคในช่วงสมัยสงครามโลก จากนั้นก็ขยับขยายมาตั้งโรงงานผลิตยาอยู่แถวๆ คลองหลอด ยาแก้ไข้ ที.ซี.มัยซิน ยาน้ำเบบี้ดอลล์ จากธุรกิจผลิตยาเมื่อกว่า 30 ปีก่อน โกเหลียว ก็หันมาเอาดีกับธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง แข่งกับบริษัทจากญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อว่า "กระทิงแดง" เฉลียว เริ่มปลุกปั้น กระทิงแดง ตั้งแต่ตั้งชื่อ ออกแบบโลโก้ กระทิงแดงสองตัวหันหน้าวิ่งชนกัน เดินไปตามถนนเพื่อแจกให้ให้ลูกค้าชิมฟรีๆ ลองผิดลองถูกปรับสูตรจนลงตัว ก่อนจะเริ่มโปรโมตด้วยวลี ที่ว่า กระทิงแดง ซู่ซ่า...ซู่ซ่า ! ที่ใครๆ ก็พูดถึง หรือแม้กระทั่งเป็นเซลส์แมนเดินสายไปขายเองในต่างจังหวัด "โกเหลียว" สร้างกระทิงแดงขึ้นมาจากบริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานไม่ถึง 10 คน จนกระทิงแดงเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานร่วมพันคน ยิ่งไปกว่านั้นวันนี้ กระทิงแดง ผลิต-จำหน่ายสร้างตลาดในต่างประเทศโดยใช้ชื่อว่า เรดบูล (Red Bull) จนกระทั่งสามารถส่งเครื่องดื่มชนิดนี้ไปขายทั่วโลกในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกา อาฟริกา จีน ฯลฯ และมีโรงงานอยู่ในหลายๆประเทศ เช่น ออสเตรีย จีน เวียดนาม ฯลฯ จุดหักเหที่สำคัญที่สุดซึ่ง "ต่อยอด"ให้ธุรกิจเครื่องดื่ม กระทิงแดง-เรดบูล ก้าวกระโดดไปทั่วโลกและสร้างรายได้จนรวยมหาศาลเช่นทุกวันนี้ มาจากความกล้าในการตัดสินใจก้าวข้ามการแข่งขันภายในประเทศออกไปประกาศศักดิ์ศรีในเวทีตลาดโลกนั่นเอง อย่างไรก็ตามภารกิจที่สำคัญนี้คงจะไม่อาจประสบความสำเร็จได้ถ้าหากขาดผู้ร่วมลงทุนที่ดีอย่าง "ดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz) เซลส์แมนชาวออสเตรีย ที่ได้รับการยอมรับในภายหลังว่าเป็นนักสร้างตลาด เรดบูล จนไต่ขึ้นชั้น โกลบอล แบรนด์ และเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มให้พลังงาน ( Energy Drink ) เกือบ 100 ประเทศทั่วโลก โดยอาศัยนวัตกรรมเครื่องดื่มให้พลังงานที่มีรากเหง้า จาก เครื่องดื่ม "กระทิงแดง" ของบ้านเรา
การขยายธุรกิจต่างประเทศของกระทิงแดงนั้นเริ่มจากการที่ "ดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz)ได้มาเห็นกระทิงแดงในเมืองไทยและได้ชักชวนให้ เฉลียว ไปลงทุนในต่างแดน โดยให้ฝ่ายไทยถือหุ้นใหญ่ โดยให้ฝ่ายไทยถือหุ้น 51% และ ดีทริช มาเตอชิทช์ ถือหุ้น 49% เนื่องจากเขามีความคิดว่าน่าจะนำ เครื่องดื่มกระทิงแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ "เฉลียว" คิดค้นขึ้นมา และจำหน่ายในเมืองไทย ไปเผยแพร่ยังยุโรป
เรดบูล เริ่มผลิตและวางจำหน่ายในยุโรป โดยก่อตั้งบริษัท Red Bull GmbH. เมื่อ ปี 1984 โดยเริ่มจากผลิตและจำหน่ายในประเทศออสเตรียก่อน จากนั้นก็ค่อยๆขยายตลาดออกไปยังประเทศอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง
ถึงกระนั้น อนาคตที่สดใสที่แท้จริงเพิ่งเริ่มต้น และพัฒนาจากความคิดสู่การปฏิบัติ เมื่อปี 1987 เมื่อสำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ เครื่องดื่มกระทิงแดง หรือ เรดบูล วางตลาดจำหน่ายสู่มือผู้บริโภค
ปัจจุบันเฉพาะฐานผลิตออสเตรีย สามารถผลิต เรดบูลออก จำหน่ายได้ 1.5 ล้านกระป๋อง ครอบคลุมเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการทำตลาด ด้วยส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละประเทศ ที่มีอัตราเฉลี่ยตั้งแต่ 65-90% ซึ่งเป็นผลมาจากการทำตลาดด้วยนวัตกรรมใหม่ของสินค้าและการตลาด ที่ไม่มีคู่แข่งรายใดทำได้
สำหรับตลาดโลกในแต่ละปี เรดบูลมียอดขายถึง 900-1,000 ล้านกระป๋อง และถือเป็นหมายเลข 1 ของโลก สำหรับเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)